- ชาวบ้านแห่ร้องบางเว็บไซต์ขายของปลอม
- พาณิชย์ถกเจ้าของสิทธิ์-เจ้าของเว็บไซต์
- กำจัดผู้ค้าขี้ฉ้อไม่ให้ขายของเถื่อนได้อีก
+กรมทรัพย์สินทางปัญญา เดินหน้าแก้ปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์ จับมือ เว็ปไซต์ชั้นนำ ลาซาด้า, ช้อปปี้ เฟสบุ๊ก,กูเกิ้ล พร้อมเจ้าของสิทธิ์ ถกแนวทางแก้ไข 19 ก.ค. นี้
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า วันที่ 19 ก.ค.นี้ กรมจะจัดสัมมนาเกี่ยวกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเตอร์เน็ต โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รวมถึงภาคเอกชนเจ้าของสิทธิ์ และตัวแทนเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ชั้นนำ เช่น ลาซาด้า, ช็อปปี้, เฟ๊ซบุค, กูเกิ้ล เป็นต้น เข้าร่วมด้วย เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือกันในประเด็นความร่วมมือด้านการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้าบนอินเทอร์เน็ต เพื่อการแก้ไขปัญหารวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับการดำเนินการดังกล่าว เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้รับการร้องเรียนจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ว่า มีการใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้ในการขายสินค้าละเมิด และเจ้าของสิทธิ์ต้องการให้เจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการบล็อก หรือถอดผู้ค้าที่ใช้ช่องทางเฟ๊ซบุ๊คไลฟ์สดขายสินค้าละเมิด แต่กระบวนการบล็อกหรือถอดออกยังล่าช้า เพราะเจ้าของเว็ปไซต์ ไม่แน่ใจว่า ตัวแทนเจ้าของสิทธิ์ในไทยที่ร้องเรียนมาว่าพบการขายสินค้าปลอนบนเว็บไซต์นั้น เป็นตัวแทนเจ้าของสิทธิ์จริงหรือไม่ จึงต้องมีการตรวจสอบก่อน และใช้เวลาหลายวันกว่าจะตรวจสอบได้ เพราะไม่รู้จักกันโดยตรง อีกทั้งยังต้องทำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และต้องนอให้ศาลสั่งก่อนจึงจะสามารถบล็อคเว็บไซต์ หรือ URL ได้
“กรมต้องการสร้างความร่วมมือโดยตรงกับเจ้าของสิทธิ์ เจ้าของเว็บไซต์ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ให้มีการติดต่อกันโดยตรง และมีคนที่จะติดต่อได้โดยตรง เพื่อที่จะทำให้กระบวนการตรวจสอบ และช่องทางการระงับการขายสินค้าละเมิดทำได้เร็วขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน เว็บไซต์เหล่านี้็ให้ความร่วมมือกับกรมอยู่แล้ว โดยกรณีพบหรือได้รับแจ้งว่ามีการนำของละเมิดมาขายบนเว็บไซต์ จะมีมาตรการต่างๆ เช่น ระงับการขาย และตัดสิทธิผู้ขายไม่ให้นำของมาขายอีก”