- รัฐบาลก่อหนี้ใหม่ 8.9 แสนล้านบาท
- ยันหนี้สาธาณะไม่เกิน60%ของจีดีพี
- รัฐวิสาหกิจถลุงเงิน1.4แสนล้านบาท
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ2563 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลัง โดยแผนการบริหารหนี้ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบด้วย 1.แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 894,005 ล้านบาท 2.แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงิน 831,150 ล้านบาท และ3.แผนการชำระหนี้ วงเงิน 398,372 ล้านบาท
สำหรับแผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 894,005.65 ล้านบาท แบ่งเป็นการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล 748,879 ล้านบาท นั้น และการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ 140,000 ล้านบาท โดยแผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล ในวงเงิน 748,879 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์ในการกู้ 3 ประการประกอบด้วยคือ 1.บริหารสภาพคล่องของเงินคงคลัง วงเงิน 90,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องเงินคงคลังให้เพียงพอรองรับการเบิกจ่ายเป็นครั้งคราว รวมถึงรองรับการเบิกจ่ายงบประ มาณภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาลในช่วงไตรมาสที่ 1 และ2 ของปีงบประมาณ2563 โดยการออกตั๋วเงินคงคลังระยะสั้นไม่เกิน 120 วัน
2.กู้มาใช้โดยตรง วงเงิน 570,022 ล้านบาท แบ่งเป็นจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ เป็นการกู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี 2563 และเงินกู้ต่างประเทศ 3,500 ล้านบาท เพื่อมาใช้ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและโครง สร้างพื้นฐาน และโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและ เพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ
3.รัฐบาลกู้มาแล้ว ให้กู้ต่อไป โดยจะใช้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ วงเงิน 85,357 ล้านบาท เช่น โครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 5 โครง การ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาทและโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อีก 9 โครงการ วงเงิน 65,000 ล้านบาท และ 4.การก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ 13 แห่ง วงเงินรวม 145,126 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 87,000 ล้าน เช่น การเคหะแห่งชาติ 4,000 ล้านบาท การประปาส่วนภูมิภาค 6,057 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 20,000 ล้านบาท และบริษัทการบินไทย 56,800 ล้านบาท (กู้เพื่อดำเนินโครงการ/เสริมสภาพคล่อง)
2.แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงิน 831,150 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้เดิมของรัฐบาล ซึ่งเป็นหนี้ในประเทศทั้งหมด วงเงิน 600,000 ล้านบาท และหนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ วงเงิน 220,000 ล้านบาท และ3.แผนการชำระหนี้ วงเงินรวมวงเงิน 398,372 ล้านบาท
ทั้งนี้แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2563 อยู่ภายในกรอบ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ที่กำหนดไว้ว่า 1. สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ต้องไม่เกิน 60% ซึ่งในปีวงบประมาณ 2563 คาดว่า จะอยู่ที่ 42.76% 2.สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ ต้องไม่เกิน 35% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 18.48% 3. สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด ไม่เกิน 10% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 2.86% 4.สัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ ต้องไม่เกิน 5% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 0.15% ทั้งนี้ สถานะของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนก.ค.2562 มี 6.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 41.45% จีดีพี
นอกจากนี้ ครม.ยังทราบผลการเปิดรับฟังความเห็นประชาชน ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ เรื่องพ.ร.บ.งบ ประมาณรายจ่ายประจำปี2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท โดยตามปฏิทินงบประมาณกำหนดให้งบประมาณปี2563 เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวันที่ 17 ต.ค.นี้ และจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาพในวาระ 2 และ 3 ระหว่างวันที่ 18-29 ม.ค.2563 หลังจากนั้น นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้งบประมาณปี2563 ในช่วงปลายเดือนม.ค.2563.v
//////////////////