“กนอ.”นำทัพโรดโชว์ดึงนักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนเพิ่ม



  • รับนโยบายแผนกระตุ้นการลงทุนของไทย
  • ลุยดึงทั้งขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ
  • เผย6เดือนแรกญี่ปุ่นคือนักลงทุนอันดับ1

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.ได้ร่วมกับสถานเอคอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และJapan Industrial Location Center (JILC) จัดกิจกรรม เชิญชวนนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นท่ีญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆนี้ โดยได้จัดสัมนา โอกาสการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมไทย และจัดกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจเพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยได้พบปะกับผู้ประกอบการญี่ปุ่น ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจและสร้างความสัมพันธ์ ทางธุรกิจระหว่างกัน รวมถึงความพร้อม ของพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมที่จะรองรับตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนของรัฐบาลไทยในอนาคต

“กนอ.ได้นำเครือข่ายพันธมิตรที่เป็นผู้พัฒนานิคมฯ ภาคเอกชน โชว์ศักยภาพพื้นที่ในนิคมฯต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นนักลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ,เอสเอ็มอี และ กลุ่มผู้ประกอบการใหม่ (สตาร์ทอัพ) ในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทอนิกส์ ,หุ่นยนต์ ,ดิจิทัล และแปรรูปสินค้าเกษตร เข้าร่วมกว่า 53 บริษัท”

สำหรับการไปโรดโชว์ครั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้กับนักลงทุนญี่ปุ่น ทั้งเรื่องความพร้อมเชิงพื้นที่รองรับการลงทุน และความพร้อมของระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย โดยเฉพาะนักลงทุนกลุ่มเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ ที่ปัจจุบันมีศักยภาพ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งประเทศไทยยังคงเป็นประเทศเป้าหมายที่เป็นฐานการผลิตของนักลงทุนญี่ปุ่น บวกกับรัฐบาลญี่ปุ่น ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าว ขยายฐานการผลิตไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น

ดังนั้น กนอ.ในฐานะเป็นหน่วยงาน ที่จัดตั้งนิคมฯทั่วประเทศ พร้อมสนับสนุนพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนของ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพต่างประเทศ ด้วยการเตรียมความพร้อมในด้านการให้บริการ และระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบ ควบคู่ไปกับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้ คาดว่ากลุ่มนักลงทุนเป้าหมายตัดสินใจขยายการลงทุน มายังประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ( บีโอไอ) ใน6 เดือนแรกของปีนี้ พบุว่าญี่ปุ่นเป็นนักลงทุน ที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ด้วย มูลค่า 42,454 ล้านบาท จากมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด 147,169 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนอันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร ตามด้วยอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องใช้ไฟฟ้า และกิจการด้านบริการ เป็นต้น